Social Icons

feadture

.

วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

มารู้จักหลักเศรษฐศาตร์กับเศรษฐกิจพอเพียงกันครับ

            เพราะอะไรราคาสินค้าเกษตรบางชนิดถึงถูกจนคนปลูกเป็นหนี้เป็นสิน  เพราะอะไรราคาสินค้าเกษตรบางอย่างถึงได้แพงจนคนปลูกมีอันจะกิน  มาทำความรู้จักปัญหาเหล่านี้กันครับ






ง่ายๆครับ  มีคำแค่สองคำที่คนพอเพียงควรจะรู้ครับ
         คือ  1. อุปสงค์  คือ ความต้องการของผู้บริโภค
                2. อุปทาน  คือ ความต้องการขายสำหรับผู้ผลิต










             ขออธิบายความอย่างนี้ครับ ว่า  ถ้าผู้ผลิตหรือเกษตรกรปลูกพืชชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไป  มากจนเกินความต้องการของผู้บริโภค  มันก็จะทำให้ราคาลดลงครับ  จะสังเกตุได้จากสินค้าเกษตรบางชนิดที่เกษตรกรเริ่มปลูกใหม่ๆ ไม่ค่อยมีคนปลูกราคาขายจะดีมาก ความต้องการของตลาดหรือผู้บริโภคสูงมาก ทำให้ได้ราคาดีได้เงินเป็นกอบเป็นกำ  แต่เมื่อพอเกษตรกรเห็นคนอื่นขายได้ราคาดีก็เลยแห่ปลูกตามกัน ผลิตสินค้าเกษตรออกมาจนเกินความต้องการของตลาด  จนผู้บริโภคไม่อยากจะกิน ความต้องการของตลาดลดลง  ราคาก็ต้องถูกลงโดยปริยายโดยไม่ต้องสงสัยครับ

                " เริ่มที่ตัวเรา  กินให้อิ่ม ไม่เดือดร้อนก่อนครับ ค่อยเอาไปขาย  จะได้ราคาดี "  คืออย่างนี้ครับ  หลักเศรษฐกิจพอเพียง  ให้ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ให้ตัวเองกินอิ่มก่อน  แล้วค่อยคิดที่จะปลูกเพื่อขาย ตราบใดก็ตาม  ที่เกษตรกรกระเสือกกระสนอยากที่จะขาย  เพราะความที่ ค่าปุ๋ยก็ต้องจ่าย ค่ายาฆ่าแมลงก็ต้องจ่าย  ค่าจิปาถะ  สาระพัด ขายตอนที่มีความเดือดร้อนอย่างนี้   คนต้องการขายมากกว่าคนต้องการซื้อ  ราคาตกต่ำแน่นอนครับ
                   

วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การนำหัวเชื้อ EM ไปใช้งาน

เรามารู้จักวิธีการนำ EM ไปใช้งานกันครับ
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ EM ก่อนครับว่ามันคืออะไร

              EM ย่อมาจาก  Effective micro organism  ถ้าแปลเป็นไทยก็จะหมายถึง จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ หรือมีประโยชน์ที่จะนำไปใช้งาน  ซึ่งจุลินทรีย์นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ
                 1. จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มี 5-10 %
                 2. จุลินทรีย์ที่ทำลายมี  5-10%
                 3. จุลินทรีย์ที่เป็นกลางๆ มี 80-90%

              สรุปง่ายๆครับ  จุลินทรีย์มีแบบดีและไม่ดีถ้าแบบดีเยอะกว่าก็จะเป็นประโยชน์ถ้าแบบทำลายเยอะกว่าก็จะเป็นโทษครับ ส่วนกลุ่มกลางๆก็จะคอยสนับสนุนกลุ่มที่มีพรรคพวกเยอะกว่าครับ

การนำ EM ไปใช้สำหรับพืช
                 ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า EM นั้นมีหน้าที่ในการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุหรือซากพืชซากสัตว์เพื่อให้เป็นอาหารสำหรับพืช  โดยที่จุลินทรีย์อาจจะไม่ได้มีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืชแต่อย่างใดดังนั้นการใช้ EM จะต้องคำนึงเสมอว่าจุลินทรีย์จะต้องมีชีวิตและเป็นจังหวะที่กำลังเจริญเติบโตอย่างเต็มที่พร้อมที่จะทำงาน
                สูตรการนำไปใช้
               1. หัวเชื้อ EM  1  ส่วน
               2. กากน้ำตาล  1  ส่วน
               3. น้ำสะอาด    20 ส่วน
               นำไปหมักไว้  7  วัน  จึงค่อยนำไปใช้งานและใช้ให้หมดภายใน 7  วัน  เพราะว่าจะเป็นช่วงที่จุลินทรีย์เจริญเติบโตมากที่สุดและพร้อมที่จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สูตรการทำหัวเชื้อ EM

มาทำหัวเชื้อ EM ใช้กัน

สูตรน้ำหมักชีวภาพต่างๆ ล้วนแล้วแต่ไม่ได้บอกวิธีการทำหัวเชื้อ EM มีแต่บอกสูตรน้ำหมักชีวภาพโดยมีส่วนผสมของหัวเชื้อ EM โดยหัวเชื้อ EM  เราจะต้องซื้อมาอีกทีหนึ่ง  ในราคา 60-100 บาท 
วันนี้เรามาเรียนรู้วิธีการทำหัวเชื้อ EM  ด้วยตัวเองครับ

สูตร  1
       1. น้ำมะพร้าวอ่อน 10 ลิตร
       2. สับปะรด  3  กิโลกรัม
       3. กากน้ำตาลหรือน้ำตาลแดง  1 กิโลกรัม (**น้ำตาลที่ยังไม่ผ่านการฟอกสี)

วิธีทำง่ายๆ
       สับสับปะรดรวมทั้งเปลือกให้ละเอียดพอประมาณ 3 กิโลกรัม  คลุกเคล้ากับกากน้ำตาลหรือน้ำตาลแดง และน้ำมะพร้าวอ่อน  ในถัง พลาสติก ปิดฝาไว้โดยไม่ต้องปิดสนิท  เก็บไว้ในที่ร่มเป็นเวลา 3 เดือน จะมีกลิ่นหอมแสดงว่าได้หัวเชื้อ EM  และนำไปใช้เป็นหัวเชื้อ  เพื่อทำน้ำหมักชีวภาพเป็นสูตรต่างๆ  แต่ถ้าหมักไว้แล้วมีกลิ่นเหม็นเน่าแสดงว่าใช้ไม่ได้  ให้ทำใหม่




ภาพ น้ำหมัก EM สูตร 1 หลังจากเวลาผ่านไป 5 วัน  จะมีฝ้าขาวขึ้นที่ผิวหน้า มีกลิ่นหอมเปรี้ยวผสมกลิ่นแอลกอฮอล และกลิ่นหอมน้ำตาล ซึ่งคุณลักษณะแบบนี้ถือว่าใช้ได้



สูตร 2 (สูตร ลุงทองเหมาะ)
        1. ดินจากป่าที่มีจุลินทรีย์มีประโยชน์  ครึ่งกิโลกรัม
        2. แกลบ  3  กิโลกรัม
        3. ใบไผ่แห้ง  3  กิโลกรัม
        4. รำละเอียด  2  กิโลกรัม

วิธีทำง่ายๆ
         นำส่วนประกอบทั้งหมดมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยเติมน้ำประมาณ 50 % ใส่ถังพลาสติดปล่อยให้มีรูระบายความร้อน เก็บไว้ 24 ชั่วโมงจะมีเส้นใยคล้ายราขึ้น แสดงว่ามีจุลินทรีย์มีประโยชน์เกิดขึ้น  และหลังจากนั้นอีก 15  วัน  ก็สามารถนำหัวเชื้อนี้ไปหมักเป็นหัวเชื้อ EM ต่อไปได้


         การขยายหัวเชื้อหลังจากหมักได้ประมาณ 1-3 เดือนแล้วสามารถทำได้โดย  นำหัวเชื้อ EM ไปหมักกับสูตรต่างๆเพื่อใช้งานได้ต่อไป

 

Sample text

Sample Text

Sample Text